Piman-2
Piman-2

15 + Years Experience

พิมาน คลินิก

ตรวจเอชไอวี รู้ผลภายใน 1 ชั่วโมง

นัดวันตรวจโดยการ scan QR Code หรือคลิกเพิ่มเพื่อนใน line เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่

Our Project Showcase

The Management Team

หัวหน้าโครงการ (Principal Investigator)

หัวหน้าโครงการ (Principal Investigator)

แพทย์ (Study Physician)

แพทย์ (Study Physician)

แพทย์ (Study Physician)

ผู้ประสานงานโครงการ (Study Coordinator)

ข่าวและกิจกรรม

สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว

สิ้นสุดการรอคอย #สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว เตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมายในปีนี้ เมื่อเวลาเที่ยงของวันนี้ (18 มิถุนายน 2567) สภามีมติเห็นด้วยเป็นจำนวนโหวตเห็นด้วย 130 เสียง จากทั้งหมด 152 เสียง โดยแบ่งเป็นไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียงอีก 18 เสียง อีกทั้งยังมีอีกมติที่สร้างความก้าวหน้าและยืนยันการมีตัวตนของกลุ่มคนเพศหลากหลายที่อยู่นอกเหนือควาเมป็นเพศชายและหญิงหรือคู่สามีและภรรยา ทางสภามีมติให้คงไว้ซึ่งคำว่า คู่สมรส ด้วยเช่นกัน การผ่านข้อกฎหมายนี้จะมีข้อบังคับใช้ในอีก 120 วันเพื่อรองรับความพร้อมในกระบวนการกฎหมายและปรับตัวในกระทรวง พนักงาน และบุคคลอื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้ประเทศไทยถูกนับว่าเป็นประเทศแรกที่มีกฎหมายสมรสระหว่างเพศเดียวกันเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ #สมรสเท่าเทียม #คืนสิทธิ์คืนศักดิ์ศรีให้เราเท่ากัน #PIMANCLINIC  

Pride of Chiang Mai

🏳️‍🌈 Pride of Chiang Mai 🏳️‍🌈 We’re All Human เตรียมพบกับกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือจากหลากหลายองค์กร เพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้ด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นมนุษย์ ภายใต้แนวคิด We’re All Human 🟣 วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567 กิจกรรมการเดินขบวนพาเหรดรณรงค์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม Pride of Chiang Mai ตั้งแต่บริเวณด้านหน้าโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน – ลานประตูท่าแพ เวลา 14.30 น. เริ่มรวมพลขบวน ณ โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน เวลา 16.00 น. ขบวนเคลื่อนออกจากโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน เวลา 17.00 น. ขบวนเคลื่อนมาถึงลานประตูท่าแพ เวลา 18.15 น. พิธีเปิดงาน Pride of Chiang Mai 2024 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป พบกับกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การแสดงฟ้อนดาบ ฟ้อนนกยูง ดนตรีสดจากนักเรียน โชว์จากผู้สูงอายุ โชว์อิเล็กโทน (กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) 🔵 ตลอดเดือนมิถุนายน 2567 การจัดแสดงบอร์ดให้ความรู้ บริเวณลานหน้าหอพื้นถิ่นล้านนา เทศบาลนครเชียงใหม่ เล็งเห็นถึงความสำคัญของความเท่าเทียมกันในมนุษย์ และอยากจะสนับสนุนจัดงานให้คนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย มามีส่วนร่วมในการแสดงคุณค่าของตัวเองเช่นนี้ในทุกๆ ปี “เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็มีความเท่าเทียมกันเสมอ”…

IDAHOBIT วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ

TODAY IS #IDAHOBIT! ✊ 👉 วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ (The International Day against Homophobia, Biphobia, Interphobia & Transphobia)” 👉 วันที่ 17 พฤษภาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้ถอดเรื่องการรักเพศเดียวกันออกจากบัญชีความผิดปกติทางจิต หลังจากนั้น ในปี 2547 จึงได้กำหนดให้วันที่ 17 ของทุกปี เป็นวันสากลเพื่อยุติความเกลียดกลัว คนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ

NYHAAD คืออะไร

NYHAAD หรือ National Youth HIV & AIDS Awareness Day คือวันรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง HIV & AIDS Awareness ของเยาวชนแห่งชาติ (NYHAAD) เป็นวันเพื่อให้ความรู้และกระตุ้นให้ผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนเกี่ยวกับผลกระทบของ HIV และ AIDS ต่อเยาวชน ซึ่งวันนี้ยังเน้นย้ำถึงแคมเปญการป้องกัน การรักษา และการดูแลเอชไอวีของคนหนุ่มสาวในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทั้งนี้โรงเรียนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของเยาวชน ความสามารถพิเศษของ DASH ในการเชื่อมโยงด้านสาธารณสุขและการศึกษาเป็นแพลตฟอร์มในการสนับสนุนโรงเรียนด้วยข้อมูลและทรัพยากรในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในเยาวชน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ แหล่งที่มา : https://www.cdc.gov/healthyyouth/youth_hiv/resources.htm https://www.advocatesforyouth.org/nyhaad/

สภาผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 ด้วยคะแนนเสียง 400 ต่อ 10 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนน 3 เสียง การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ส่งผลให้ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน ขั้นตอนหลังจากนี้ สภาจะส่งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้วุฒิสภาพิจารณาในวาระ 2-3 หากได้รับความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีก็จะนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้ต่อไป นายดนุพร ปุณณกันต์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. กล่าวนำเสนอในที่ประชุมสภาว่า ทาง กมธ. ได้ ประชุมพิจารณาร่างกฎหมายทั้งหมด 12 ครั้ง จนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2567 โดยเป็นการพิจารณารายมาตราจนจบร่าง พ.ร.บ. ทั้งสิ้น 68 มาตรา การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้ (27 มี.ค.) เป็นการพิจารณารายมาตรา และมีกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ขอสงวนความเห็นจำนวน 14 มาตรา แหล่งที่มา https://www.bbc.com/thai/articles/cn0edj0dq6lo