ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)
โรคตับชนิดต่างๆ
ตับมีโอกาสเป็นโรคต่างๆได้แก่ โรคตับอักเสบ hepatitis โรคตับแข็ง [cirrhosis] มะเร็งตับ [liver cancer] โรคไขมันในตับ [fatty liver] โรคฝีในตับ [liver abscess]
โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด
- โรคตับอักเสบเฉียบพลัน [acute hepatitis] หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต
- โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis] หมายถึงตับอักเสบที่เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด
- chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นและไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะทำให้ตับมีการอักเสบมาก
- chronic active hepatitis.มีการอักเสบของตับ และตับถูกทำลายมากและเกิดตับแข็ง
- สาเหตุของโรคตับอักเสบ
- เชื้อไวรัส มีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ,บ,ซี,ดี,อี
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. ผู้ป่วยหากได้ acetaminophen (พาราเซ็ตตามอล)ในขนาดสูงมากก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
- เชื้อโรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย
การอักเสบของตับจะทำให้ตับบวม มีการทำลายเซลล์ตับ ทำให้มีอาการอ่อนเพลียจากการทำงานผิดปกติของตับ หากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้ตับถูกทำลายมาก และถูกแทนที่ด้วยพังผืด ทำให้ตับมีแผลเป็น และมีลักษณะแข็งเป็นตุ่มๆ แม้ว่าสาเหตุของตับอักเสบจะมีมากมายแต่สาเหตุที่สำคัญคือไวรัสตับอักเสบ ปัญหาโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก การดำเนินของโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบ ซีสามารถดำเนินเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ดังนั้นการเข้าใจถึงโรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงการติดต่อ การดำเนินของโรค การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดต่อซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลง
ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ
- ผู้ป่วยดีซ่านตาขาวและผิวจะมีสีเหลือง
- ฝ่ามือมีสีเหลือง
- ปัสสาวะเข้ม
- ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
- ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆจนเกิดตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับในที่สุดหากสงสัยว่าจะเป็นโรคตับอักเสบท่านควรไปรับการตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่โดย
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับอักเสบ
- ตรวจการทำงานของตับ โดยการหาระดับ SGOT[AST],SGPT [ALT]ค่าปกติน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าค่ามากกว่า 5-2 เท่าให้สงสัยว่าตับอักเสบ หากพบว่าผิดปกติแพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือนการแปรผลเลือด
- การตรวจหาตัวเชื้อ
- ไวรัสตับอักเสบ เอ ตรวจหา Ig M Anti HAV
- ไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจหา HBsAg ถ้าบวกแสดงว่ามีเชื้ออยู่ Anti HBs ถ้าบวกแสดงว่ามีภูมิต่อเชื้อ HBeAg ถ้าบวกแสดงว่าเชื้อมีการแบ่งตัว HBV-DNA เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อ
- ไวรัสตับอักเสบ ซี Anti-HCV เป็นการบอกว่ามีภูมิต่อเชื้อ HCV-RNA ดูปริมาณของเชื้อ
- การตรวจดูโครงสร้างของตับ เช่นการตรวจคลื่นเสียงเพื่อดูว่ามีตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่
- การตรวจชิ้นเนื้อตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำชิ้นเนื้อตับเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรคการเลือกใช้ยาจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื่องจากยามีผลข้างเคียงที่พึงระวังหลายอย่าง ยาที่ใช้อยู่มี interfeon และ lamuvudin
- การปฏิบัติตัว
- การรักษาตับอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงที่มีการอักเสบของตับ แต่การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างพอเพียง ไม่ต้องดื่มน้ำหวานมากๆ เพราะทำให้ไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขึ้นถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบเอ และ อี จะหายขาดไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90หายขาด ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซีและ ดี ยังไม่มีข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นพาหะคือผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายแต่ไมแสดงอาการของตับอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นและต้องมั่นติดตามการดูแลจากแพทย์เป็นระยะๆผู้ป่วยที่เป็นพาหะมักเป็นกับเชื้อบี และ ซี เท่านั้นบุตรที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะมีโอกาสติดเชื้อได้สูง แต่ปัจจุบันการฉีดวัคซีนให้กับทารกสามารถป้องกันการติดเชื้อได้แม่สามารถให้นมบุตรได้การตรวจการทำงานของตับ ตับอักเสบ ไขมันพอกตับ
- การป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ การติดเชื้อตับอักเสบ เอจากอาหาร
- ถ้ามารดาเป็นตับอักเสบจะมีผลอย่างไรต่อบุตร
- พาหะของโรคจะทำอย่างไร
- ถ้าเคยเป็นแล้วจะมีโอกาสติดเชื้ออีกหรือไม่