PrEP หรือ ยาต้านไวรัส HIV “ก่อน” สัมผัสเชื้อ

Archive


Tags


Chlamydia trachomatis Condyloma acuminata COVID-19 halothane HIV Prevention Trial Network; HPTN HPTN083 HPV คืออะไร? Human papilloma virus isoniazid methyldopa MSM Gossip Non-gonococcal Urethritis phenytoin PrEP prepเชียงใหม่ sulfonamide drugs Syphilis valproic acid การรักษาซิฟิลิส การรักษาหนองใน การรักษาหูดหงอนไก่ ข่าว HPTN083 ข่าวกิจกรรม ข่าวสาร ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ข่าวสารพิมานเซ็นเตอร์ ข่าวสารโครงการงานวิจัย บทความ บทความงานวิจัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ ยาต้านไวรัสป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย รับประทานรางวัลเชิดชูเกียรติภาคี สาเหตุการเกิดซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม หูดหงอนไก่ อาการของหนองใน อาการซิฟิลิส อาการหูดหงอนไก่ โครงการ MTN 017 โครงการวิจัย HPTN083 โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Social Links


Pre-Exposure Prophylaxis หรือชื่อย่อ PrEP คือ การให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวีก่อนมีการสัมผัส (pre-exposure) ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อป้องกัน (prophylaxis) การติดเชื้อเอชไอวี
*** แต่อย่างไรก็ตาม PrEP ก็ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ได้

เพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร?
PrEP เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี เช่น
– ชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับชาย และไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย หรือไม่ทราบสถานะผลเลือดว่าคู่นอนเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่
– มีเพศสัมพันธ์กับคู่ที่มีเชื้อเอชไอวี
– คู่มีเชื้อเอชไอวีแต่ไม่รับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวี และไม่ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ

เตรียมพร้อมกับการเริ่มยาเพร็พ
เพื่อให้ได้ผลดีในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ยาเพร็พ (PrEP) จึงควรรับประทานทุกวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสม ประโยชน์ที่จะได้รับ และควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และเอชไอวี
เมื่อตัดสินใจเริ่มยาควรปรึกษาแพทย์ เพื่อซักประวัติเกี่ยวกับอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประวัติการใช้ยาอื่น และประวัติโรคไต พร้อมทั้งตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ซี ซิฟิลิส และตรวจการตั้งครรภ์ในสตรี เพื่อให้การเริ่มยาเพร็พเป็นไปอย่างรวดเร็ว

ประสิทธิผลการใช้ยาเพร็พ (PrEP)
ขึ้นอยู่กับการรับประทานยาต่อเนื่องทุกวัน การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ประสิทธิผลการป้องกันของยาลดลง จึงควรมีความพร้อม และหาวิธีในการที่จะทำให้ตนเองสามารถรับประทานยาได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
เนื่องจากการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อไตหรือการสูญเสียมวลกระดูก ดังนั้นหลังรับประทานยาควรมีการติดตาม โดยการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของไต และควรตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีทุก 6 เดือน

PIMAN CLINIC
โทร. 053-211636, 091-8592542

Loading