ทำการวิจัยในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจำนวน 414 คนในประเทศฝรั่งเศส 6 แห่ง และประเทศแคนนาดา 1 แห่ง โดยสุ่มแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจำนวน 206 คนกินทรูวาดา และกลุ่มที่ 2 จำนวน 208 คนกินยาเลียนแบบ โดยวิธีการกินเช่นเดียวกันทั้ง 2 กลุ่ม คือ กินทรูวาดา 2 โด๊ส(2 เม็ด) ช่วง 24 ถึง 2 ชั่วโมงก่อนมีเพศสัมพันธ์ และกินอีก 1 โด๊ส (1 เม็ด) ภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์และอีก 24 ชั่วโมงต่อมา (หรือ 48 ชั่วโมงหลังการกินครั้งแรก)ตามด้วย ทรูวาดาอีก 1 โด๊ส รวมทั้งหมด 4 โด๊ส(4 เม็ด) ต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางหรือสำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์ต่อๆไป ทุกวันหลังจากเริ่มต้นครั้งแรกโดยการกิน 2 โด๊สในระยะเวลา ถึง 2 ชั่วโมงก่อนการมีเพศสัมพันธ์แล้ว หลังจากนั้นต้องกินวันละ 1 โด๊สทุกวันตลอดช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ประมาณเดือนละครั้งการใช้เพร๊บตามต้องการนี้ จะช่วยลดภาระในการกินเพร็บ ทุกวันอย่างมาก แต่สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทุกอาทิตย์นั้นการใช้เพร็บตามต้องการนี้จะไม่ต่างปจากการใช้เพร๊บทุกวัน
การวิเคราะห์ผลกลางโครงการในเดือนตุลาคม 2557 (การติดตามอาสาสมัครเฉลี่ยเท่ากับ 13 เดือน)พบว่ามีอาสาสมัครติดเชื้อทั้งหมด 16 คน 2 คน จากกลุ่มกินทรูวาดา ซึ่งทั้ง 2 คนไม่ได้กินทรูวาดาเป็นเวลานาน และยังมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่ไม่ได้ใช้เพร็บ และผู้ติดเชื้ออีก 14 คนจากกลุ่มที่กินยาเลียนแบบ คิดเป็นประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเท่ากับ 86% ส่งผลให้คณะกรรมการอิสระด้านการติดตามความปลอดภัยและให้ข้อมูลของโครงการแนะนำให้ทีมวิจัยเปลี่ยนรูปแบบการวิจัยโดยหยุดการใช้ยาเลียนแบบ และให้ทรูวาดาแก่อาสาสมัครทุกคนแทน ซึ่งคำแนะนำนี้เกิดขึ้นภายหลังการตัดสินใจของโครงการพราวด์ที่เอ่ยมาเบื้องต้นไม่กี่อาทิตย์
สำหรับการวิจัยโครงการนี้โดยเฉลี่ยแล้วอาสาสมัครกินทรูวาดาเดือนละ 16 เม็ด หรือ 4 โด๊สต่ออาทิตย์ ซึ่งเป็นระดับการโด๊สที่ให้ผลในการป้องกันได้ถึง 100% จากการวิจัยไอเพร็ก (iPrEX) ที่นำเสนอในการประชุมเอดส์โลกเมื่อปี 2014 ซึ่งผลของการวิจัยเหล่านี้แสดงว่าเพร็บมีความยืดหยุ่นต่อการกินหลายแบบ อย่างไรก็ตามการนำเสนอผลของโครงการไอเพอร์เกย์ครั้งนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะผลเบื้องต้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้นคงต้องรอการวิเคราะห์ผลอย่างละเอียดเพิ่มเติม
